❤️❤️รัฐบาลขอเชิญชวนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป ร่วมแสดงความจงรักภัคดี และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ โดยดำเนินการจัดตั้งโต๊ะหมู่ประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมเครื่องราชสักการะ รวมทั้งประดับธงชาติไทย ธงตราสัญลักษณ์ งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ตราสัญลักษณ์ฯและประดับผ้าระบายสีเหลืองร่วมกับผ้าระบายสีขาว ตามอาคารสถานที่ของหน่วยงานและบ้านเรือน ตามความเหมาะสมตลอดปี 2567❤️❤️ ขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคสมทบทุนมูลนิธิโรงพยาบาลสวนดอก เพื่อจัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์ อาคารสุจิณฺโณ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ติดต่อบริจาคได้ที่มูลนิธิโรงพยาบาลสวนดอก โทร.053-936000 และ 053-938400 😊สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ภาคเหนือ (NBT  North) ขอเชิญรับชมรายการโทรทัศน์ของ NBT  North ได้ทางระบบดิจิตอล ช่อง 11 หรือทางสื่อออนไลน์ Facebook : NBT North😊👉(เพิ่มเติม คลิก)👈 
ที่มา สว. 67 ..... สว. ชุดใหม่ ใช้ระบบ “เลือกกันเอง”

📍 ที่มา สว. 67 ⁉️

11 พฤษภาคม 2567 สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ชุดพิเศษ 250 คนที่มาแบบพิเศษ ได้รับการแต่งตั้งโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กจะมีอายุครบห้าปีตามบทเฉพาะกาลในรัฐธรรมนูญ 2560 หลังจากนั้นหน้าตาและที่มาของ สว. ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้กลั่นกรองกฎหมายก็จะเปลี่ยนแปลงไป โดย สว. ชุดใหม่ที่จะมารับไม้ต่อนี้ มีจำนวน 200 คน มีวาระห้าปี ไม่มีอำนาจพิเศษแบบ สว. จาก คสช.

สว. ชุดใหม่ ใช้ระบบ “เลือกกันเอง”

การเลือก สว. ชุดใหม่เป็นไปตามบทบัญญัติหลักของรัฐธรรมนูญ และมีจำนวนลดลงเหลือ 200 คน โดยจะใช้ระบบ “เลือกกันเอง” ของแต่ละกลุ่มอาชีพรวม 20 กลุ่ม และ “เลือกแบบไต่ระดับ” จากระดับอำเภอ

สู่ระดับจังหวัด และระดับประเทศ ไม่เพียงเท่านั้น ยังให้มีการ “เลือกไขว้กลุ่ม” ในแต่ละระดับ มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี และสามารถดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียวเท่านั้น

สว. ทำหน้าที่อะไร

1. พิจารณาแก้รัฐธรรมนูญ

• ต้องได้เสียงของ สส. และ สว. ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ในจำนวนนั้นต้องมีเสียงเห็นชอบของ สว. 1 ใน 3

• พิจารณารายมาตรา (เสียงข้างมาก)

• เห็นชอบ ได้เสียง สส. และ สว. มากกว่ากึ่งหนึ่ง ในจำนวนนั้นต้องมีเสียงเห็นชอบของ สว. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 และเสียง สส. พรรคที่ไม่มี รมต. ประธาน/รองประธานสภา 20%

2. การกลั่นกรองกฎหมายที่ผ่านจากสภาผู้แทนราษฎร

• ร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ (สส. สว. อำนาจเท่ากัน)

• พิจารณาร่างกฎหมายทั่วไปร่างกฎหมายงบประมาณอนุมัติพระราชกำหนด

3. ให้ความเห็นชอบผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ

• ศาลรัฐธรรมนูญ, องค์การอิสระ, และตำแหน่งระดับสูงในหน่วยงานรัฐ เช่น กกต. ปปช. อัยการสูงสุด เป็นต้น

4. ตรวจสอบฝ่ายบริหาร

• ตั้งกระทู้ถาม, เปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติ, ปรึกษาหารือปัญหาประชาชนในการประชุมวุฒิสภา

คุณสมบัติผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภา (สว.)

สมาชิกวุฒิสภาต้องไม่ฝักใฝ่หรือยอมตนอยู่ภายใต้ของพรรคการเมืองใด ๆ โดยมีคุณสมบัติ ดังนี้

1. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด

2. อายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี ในวันสมัครรับเลือก

3. มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ทำงานในด้านที่สมัครไม่น้อยกว่า 10 ปี (ยกเว้นกลุ่ม 14,15)

4. เป็นผู้มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

- เกิดในอำเภอที่สมัคร

- มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในอำเภอที่สมัครติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือก

- ทำงานในอำเภอที่สมัครไว้ไม่น้อยกว่า 2 ปี นับถึงวันที่สมัคร

- เคยทำงานหรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนที่อยู่ในอำเภอที่สมัครเลือกเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปี

- เคยศึกษาในสถานศึกษาที่อยู่ในอำเถภอที่สมัครติดต่อกัน ไม่น้อยกว่า 2 ปีการศึกษา

20 กลุ่มอาชีพที่สมัคร สว. ได้ ประกอบด้วย

1. กลุ่มการบริหารราชการแผ่นดินและความมั่นคง เช่น อดีตข้าราชการ อดีตเจ้าหน้าที่ของรัฐ

2. กลุ่มกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม เช่น ผู้ที่เป็นหรือเคยเป็นผู้พิพากษา อัยการ ตำรวจ หรือผู้ประกอบวิชาชีพด้านกฎหมาย

3. กลุ่มการศึกษา เช่น เช่น ผู้เป็นหรือเคยเป็นครู อาจารย์ นักวิจัย ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรทางการศึกษา

4. กลุ่มการสาธารณสุข เช่น แพทย์ทุกประเภท พยาบาล เภสัชกร

5. กลุ่มอาชีพทำนา ปลูกพืชล้มลุก

6. กลุ่มอาชีพทำสวน ป่าไม้ ปศุสัตว์ ประมง

7. กลุ่มพนักงานหรือลูกจ้างของบุคคล ซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ

8. กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านสิ่งแวดล้อม ผังเมือง อสังหาริมทรัพย์และสาธารณูปโภค ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน

9. กลุ่มผู้ประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อมตามกฎหมาย (SME) และ ผู้ประกอบกิจการอื่น ๆ

10. กลุ่มผู้ประกอบกิจการอื่นนอกจากข้อ (9)

11. กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจหรืออาชีพด้านการท่องเที่ยว เช่น มัคคุเทศก์ ผู้ประกอบกิจการหรือพนักงานโรงแรม

12. กลุ่มผู้ประกอบอุตสาหกรรม หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน

13. กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสาร การพัฒนานวัตรกรรม หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน

14. กลุ่มสตรี

15. กลุ่มผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอัตลักษณ์อื่น

16. กลุ่มศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี การแสดงและบันเทิง

17. กลุ่มประชาสังคม องค์กรสาธารณประโยชน์

18. กลุ่มนักกีฬา สื่อสารมวลชน ผู้สร้างสรรค์วรรณกรรม

19. กลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ

20. กลุ่มอื่น ๆ

ช่องทางการติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการเลือก สว.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง พร้อมให้บริการข้อมูลข่าวสาร และความรู้เกี่ยวกับการเลือก สว. ให้แก่ประชาชน ดังนี้

• แอปพลิเคชัน “Smart Vote” อำนวยความสะดวกในการสืบค้นข่าวสาร ความรู้ หรือขั้นตอนวิธีการเกี่ยวกับกระบวนการเลือก

• แอปพลิเคชัน “ตาสับปะรด” ติดตามสถานการณ์และมีส่วนร่วมป้องปราบการทุจริตเลือกโดยการรายงานสถานการณ์ เมื่อมีการพบเห็นการทุจริต และการกระทำผิกฎหมาย

• แอปพลิเคชัน “Civci Education” แหล่งข้อมูลสารสนเทศและเครื่องมือการให้ความรู้ความเข้าใจ

• สายด่วน 1444 เปิดให้บริการในวันและเวลาราชการ เวลา 8.30 - 16.30 น.

อาจเป็นรูปภาพของ ‎ข้อความพูดว่า "‎PROSOCIAL SOCIAL AAHH اهلا_ااتان เลือกกันเอง เอง เลือ กกัน ที่มา สว. 67 fxoo *@0กรมประาสัพินธ์.. ww.prd.go.th กรมประชาสัมพันธ์‎"‎

 


image รูปภาพ
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar
ข่าวรอบเมืองเหนือ...
ข่าวประชาสัมพันธ์...